สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA)xTJRI ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาธุรกิจญี่ปุ่น-ไทย - mediator

Blog สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA)xTJRI ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาธุรกิจญี่ปุ่น-ไทย

25.12.2023

business matching
สมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA)xTJRI ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาธุรกิจญี่ปุ่น-ไทยのメイン画像

เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยการลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย (TJRI) ดำเนินกิจการโดย mediator Co., Ltd. ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย (TAPMA) เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาธุรกิจญี่ปุ่น-ไทย

งานสัมมนานี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างเครือข่ายในอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่น-ไทย เพื่อช่วยกันหารือเกี่ยวกับปัญหาในอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทย ที่กำลังเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงจากกระแสรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และแผนปฏิบัติการในอนาคต โดยในวันงาน ผู้เข้าร่วมงานจากบริษัทญี่ปุ่นและบริษัทไทยรวม 93 คน

คุณศิรพรรณ อ่อนอรรถ
▲ คุณศิรพรรณ อ่อนอรรถ อุปนายกของสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย

คุณศิรพรรณ อ่อนอรรถ อุปนายกของสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย ขึ้นกล่าวช่วงต้นงานว่า “การปรับตัวให้เข้ากับอุตสาหกรรมยานยนต์ยุคใหม่ เป็นปัญหาสำคัญมากสำหรับประเทศไทยและญี่ปุ่น ทั้งสองประเทศควรร่วมมือและจัดการแก้ไขปัญหานี้ไปด้วยกัน งานสัมมนาวันนี้ นอกจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้แล้ว หวังว่าทุกท่านจะได้ยังสร้างคอนเนคชั่นซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในภาคธุรกิจไทยด้วยเช่นกัน” จากนั้นจึงร่วมหารือกับภาคเอกชนเกี่ยวกับเทรนด์ต่าง ๆ เช่น ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) และได้ฝากความคิดเห็นไปยังภาครัฐ

คุณสุพจน์ สุขพิศาล
▲ คุณสุพจน์ สุขพิศาล รองเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทย

ลำดับถัดมา คุณสุพจน์ สุขพิศาล รองเลขาธิการสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไทยกล่าวถึงการเข้ามาของรถยนต์ EV ในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยว่า “อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยกำลังเข้าสู่ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง เห็นได้จากแผนระดับชาติในการเพิ่มจำนวนการผลิตรถยนต์ EV ให้ถึง 30% ของทั้งหมดภายในปี 2573 ทว่าตอนนี้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยยังมีเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และด้านไฟฟ้าไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นอุปสรรคใหญ่ในการเข้าร่วมเป็นผู้เล่นในตลาดนี้ อีกทั้ง สิ่งสำคัญคือการรักษาความเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนในสัดส่วนอีก 70% ที่เหลือด้วยรถยนต์ Future ICE ดังนั้นมาตรการสนับสนุนรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในของรัฐบาลชุดปัจจุบันจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในขณะเดียวกัน ผู้ผลิตชิ้นส่วนก็จำเป็นต้องมองหากลุ่มลูกค้าใหม่เพื่อกระจายความเสี่ยงด้วย เช่น ชิ้นส่วนระบบรางรถไฟ ชิ้นส่วนอากาศยาน เครื่องมือทางการแพทย์ เป็นต้น”

คุณเย็บ
▲ คุณเย็บ ซิน หรู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน)

คุณเย็บ ซิน หรู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ ชี้ให้เห็นว่าส่วนแบ่งการผลิตรถยนต์ของไทยมีเพียง 2% ของตลาดโลกเท่านั้นก่อนจะกล่าวเสริมว่า “ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยมีคุณภาพและมีความสามารถด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันในตลาดโลก เราจึงควรมุ่งสู่ตลาดโลกด้วย ไม่เช่นนั้น ในอีก 30-50 ปีข้างหน้า ธุรกิจอาจไม่สามารถอยู่รอดได้หากมุ่งเน้นตลาดในประเทศเพียงอย่างเดียว ดังนั้น การมีพาร์ทเนอร์ที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้” นอกจากนี้ ยังยกตัวอย่างเรื่องความแตกต่างในการบริหารระหว่างบริษัทญี่ปุ่นและเวียดนาม พร้อมย้ำจากประสบการณ์ทำงานร่วมกับบริษัทจากหลากหลายประเทศ โดยกุญแจสำคัญของการแข่งขันในตลาดโลกคือ วิธีสร้างสมดุลในการการบริหารความรวดเร็วและความเสี่ยง

คุณลัทธกิตติ์ ลาภอุดมการ
▲ คุณลัทธกิตติ์ ลาภอุดมการ จากบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)

ในช่วงหลังของการบรรยาย คุณลัทธกิตติ์ ลาภอุดมการ จากบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เผยการคาดการณ์ของตลาด EV ของไทยว่า “หลังจากนี้สัดส่วนของรถยนต์ EV อาจจะเพิ่มขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีสถานีชาร์จให้บริการอย่างครอบคลุม ทั้งนี้ สัดส่วนจะมีการเติบโตมากสุดที่ 30-40% และ ทั่วประเทศที่ 20%” พร้อมเสริมว่า “หากไทยกลายเป็นฐานการผลิตรถยนต์ EV มูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมจะลดลงหากเทียบกับการผลิตรถยนต์สันดาปภายใน ดังนั้น นอกเหนือจากดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ ภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องร่วมคิดหาวิธีในการสร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับอุตสาหกรรมในประเทศด้วย”

ผู้บรรยายจากทั้งฝั่งไทยและญี่ปุ่นได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
▲ ช่วงเสวนา ผู้บรรยายจากทั้งฝั่งไทยและญี่ปุ่นได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในหัวข้อ “ปัญหาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่ผ่านมาและความคาดหวังร่วมกัน” โดยมีนายอุซูกะ จากบริษัท ABeam Consulting ซึ่งมีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาด้านการจัดการในอุตสาหกรรมยานยนต์มากกว่า 15 ปี เป็นตัวแทนจากฝั่งญี่ปุ่น

ฝั่งผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยหยิบยกประเด็นที่ว่า “ผู้ผลิตไทยมีเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และด้านไฟฟ้าไม่เพียงพอในการผลิตรถยนต์ EV” และได้แสดงความคาดหวังในการร่วมวิจัยและพัฒนาโครงการกับบริษัทญี่ปุ่น ขณะเดียวกัน คุณอุซูกะชี้ว่า “บริษัทญี่ปุ่นในไทยยังขาดแนวคิดแบบ Agile หรือแนวคิดในการทำงานขององค์กรยุคใหม่” พร้อมแนะ “บริษัทเหล่านี้มีเทคโนโลยีและโครงสร้างการผลิตอยู่แล้ว หากอยากประสบความสำเร็จ เหลือเพียงต้องยอมรับความเสี่ยงและตัดสินใจให้รวดเร็ว” ก่อนปิดท้ายว่า “อีกสิ่งที่สำคัญคือ หลังจากนี้ บริษัทไทยและญี่ปุ่นควรก้าวต่อไปอีกขั้น ไม่ใช่แค่ ‘รักษาความสัมพันธ์อันดีไว้’ โดยบริษัทไทยควรเป็นผู้ริเริ่มและเป็นฝ่ายกระตุ้นบริษัทญี่ปุ่น

หลังจบงานสัมมนาเป็นช่วงของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทุกท่านพูดคุยและแลกนามบัตร โดยผู้จัดได้รับเสียงตอบรับด้านบวกจำนวนมาก เช่น “งานนี้ทำให้มีโอกาสสร้างคอนเนคชั่นกับบริษัทไทยที่ไม่เคยติดต่อกันมาก่อน” “ได้ทำความรู้จักกับนักธุรกิจชาวญี่ปุ่น” “ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ธุรกิจในอนาคต” “อยากเข้าร่วมงานสัมมนาแบบนี้อีกในครั้งต่อไป”

นอกเหนือจากกิจกรรมสัมมนาในครั้งนี้ TJRI มุ่งหวังที่จะสนับสนุนการขยายเครือข่ายและการสร้างธุรกิจใหม่ระหว่างบริษัทญี่ปุ่นและไทยต่อไป


ข้อมูลงานสัมมนา

TAPMA x TJRI Networking Auto-Parts Industry

วันที่: วันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 15:30-18:00 น.
สถานที่: True Digital Park
ผู้จัดงาน: TAPMA (Thai Auto-Parts Manufacturers Association) และ TJRI (โดยบริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด)

mediatorの画像
ผู้เขียน mediator

Related Blog บทความที่เกี่ยวข้อง

mediator newsletter

‘จดหมายข่าว’ กดสมัครรับข่าวสารเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ การลงทุนและธุรกิจของนักลงทุนญี่ปุ่นจากพวกเราก่อนใคร