Sasin Japan Center x TJRI จัดสัมมนา "ธุรกิจครอบครัวไทย” เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงจากผู้นำรุ่นต่อไป!

Blog Sasin Japan Center x TJRI จัดสัมมนา “ธุรกิจครอบครัวไทย” เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงจากผู้นำรุ่นต่อไป!

13.09.2023

TJRI
Sasin Japan Center x TJRI จัดสัมมนา “ธุรกิจครอบครัวไทย” เรียนรู้การเปลี่ยนแปลงจากผู้นำรุ่นต่อไป!のメイン画像

ศูนย์วิจัยการลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย (TJRI) ดำเนินกิจการโดย บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด ร่วมกับ Sasin Japan Center (SJC) ศูนย์ญี่ปุ่น สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานสัมมนาหัวข้อ “Prospects of Family Business in Thailand” เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2566 โดยมีนักธุรกิจญี่ปุ่นและไทยเข้าร่วมจำนวน 118 คน


Vision of Family Business inThailand

เดือนมิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา Sasin Japan Center เป็นเจ้าภาพจัดงานสัมมนาร่วมกับเจโทรในหัวข้อ “Prospects of Japanese-Thai Family Business: Collaboration between Thai Family Businesses and Japanese Companies” ซึ่งมีการบรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิชาวญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจครอบครัวในประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทย

ครั้งนี้ TJRI ได้เชิญผู้นำธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์ระดับโลกและเป็นรุ่นที่ 2 ของธุรกิจ จำนวน 3 ท่าน มาเป็นแขกรับเชิญพิเศษเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำเสนอมุมมองเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น บริษัทญี่ปุ่น และอนาคตความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นต่อจากนี้

Vision of Family Business inThailand

ในพิธีเปิดงานสัมมนาครั้งนี้ คุณกันตธร วรรณวสุ CEO บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการและผู้แปล ได้นำเสนอ 3 ประเด็นสำคัญในการสัมมนา ดังนี้ 1. โอกาสของบริษัทญี่ปุ่นในการขยายธุรกิจในประเทศไทย ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่สามารถขยายขอบเขตไปสู่กลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลายมากกว่าเดิม 2. จุดแข็งของประเทศไทยคือ การสร้างความร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และบริษัทขนาดใหญ่ของประเทศไทย 3. ความร่วมมือทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่มักเป็นความร่วมมือกับบริษัทที่เป็นธุรกิจครอบครัว

Vision of Family Business inThailand

ในการบรรยายพิเศษของศาสตราจารย์ทากะมาซะ ฟูจิโอกะ ผู้อำนวยการ Sasin Japan Center (SJC) และศาสตราจารย์จาก Professional Graduate School Meiji University ขึ้นบรรยายประกอบข้อมูลสถิติ โดยเน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของธุรกิจครอบครัวที่มีต่อเศรษฐกิจว่า “ร้อยละ 70-90 ของ GDP ของโลก และร้อยละ 50-80 ของการจ้างงานมาจากธุรกิจครอบครัว สำหรับประเทศไทย ธุรกิจครอบครัวคิดเป็นร้อยละ 80 ของธุรกิจทั้งหมด และร้อยละ 80 ของ GDP มาจากธุรกิจครอบครัว ยิ่งไปกว่านั้น ร้อยละ 75 ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และร้อยละ 71 ของสินทรัพย์ทั้งหมดก็มาจากธุรกิจครอบครัวด้วยเช่นกัน”

ถัดมา นายจักรพงส์ สุเมธโชติเมธา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สากล เอนเนอยี จำกัด (มหาชน) ธุรกิจด้านพลังงาน, ดร.พัชร์ เอกปัญญาสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นิวทรีชั่น เอสซี จำกัด (มหาชน) ธุรกิจด้านวัตถุเจือปนอาหารและเครื่องปรุงต่าง ๆ และคุณพีรวัส เจนตระกูลโรจน์ ผู้จัดการทั่วไปของ บริษัท ศรีฟ้าโฟรเซนฟู้ด จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเบเกอรี่แช่แข็ง และสินค้าเบเกอรี่สำเร็จรูปครบวงจร ตัวแทนผู้นำธุรกิจครอบครัวรุ่นที่ 2 ที่ประสบความสำเร็จในการต่อยอดธุรกิจ เล่าถึงความเป็นมาของบริษัท พร้อมเผยกลยุทธ์ในการขยายธุรกิจครอบครัวจากประสบการณ์จริง

Vision of Family Business inThailand

การอภิปรายรูปแบบ Panel Discussion ผู้บริหารรุ่นใหม่ได้ร่วมแบ่งปันความคิดเห็นเกี่ยวกับบริษัทญี่ปุ่น จุดเด่นของคนญี่ปุ่น รวมถึงความร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่น โดยอ้างอิงจากประสบการณ์และความสำเร็จที่ผ่านมา ซึ่งงานสัมมนานี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้เข้าร่วม เป็นโอกาสให้นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นรู้จักบริษัทในประเทศไทยมากขึ้น รวมถึงได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ นำไปสู่การเจรจาธุรกิจต่อไปในอนาคต

ศาสตราจารย์ฟูจิโอกะ สรุปว่า “สำหรับบริษัทญี่ปุ่นที่ต้องการพัฒนาธุรกิจในประเทศไทย การสร้างบริษัทร่วมทุนกับบริษัทไทยเพื่อส่งเสริมกันและกันนั้น เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ” ประเทศไทยมีข้อได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์ สามารถเข้าถึงตลาดใหญ่ที่มีจำนวนประชากรครึ่งหนึ่งของโลกอย่างจีน และอินเดียได้ ในขณะที่ ประเทศญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี แต่ปัญหาคือ ที่ผ่านมาไม่มีตลาดที่จะนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ เนื่องจากตลาดเดิมมีแนวโน้มหดตัวลงเรื่อย ๆ บริษัทญี่ปุ่นที่มาลงทุนโดยตรงในประเทศไทยมักอยู่ในอุตสาหกรรมการผลิตและร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่นด้วยกันเอง แต่ต่อจากนี้ไป กุญแจสำคัญของความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นคือ การร่วมสร้างคุณค่า (Co-creation of Value) ญี่ปุ่นควรเข้าใจปัญหาสังคมในประเทศไทยและพิจารณาว่า สามารถมีส่วนช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง และเปลี่ยนจาก ‘การแข่งขัน’ เป็น ‘การสร้างสรรค์ร่วมกัน’ แทน

นอกจากนี้ งานสัมมนานี้ยังได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์โคจิ โยชิมูระ อธิการบดีของ Professional Graduate School Meiji University ผู้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวในประเทศญี่ปุ่น กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานผ่านคลิปวิดีโอ โดยหวังว่าการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้ จะช่วยพัฒนาธุรกิจไทย-ญี่ปุ่นต่อไป


ข้อมูลเบื้องต้นของงานสัมมนา

Sasin Japan Center x TJRI Seminar
Vision of Family Business in Thailand

วันที่: วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม 2566 13:30-16:30 น.
สถานที่ : ห้องประชุมชั้น 9 สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้จัดงาน : Sasin Japan Center และ TJRI (บริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด)
สนับสนุนโดย: Professional Graduate School Meiji University
mediatorの画像
ผู้เขียน mediator

Related Blog บทความที่เกี่ยวข้อง

mediator newsletter

‘จดหมายข่าว’ กดสมัครรับข่าวสารเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ การลงทุนและธุรกิจของนักลงทุนญี่ปุ่นจากพวกเราก่อนใคร