NEDO-NSTDA 3rd Webinar | “CCUS Technology (Part 2) : A Way to Carbon Neutrality of Thailand” – Challenge of Thailand and Japan – วิดีโอคลิปย้อนหลังงานสัมมนาออนไลน์ - mediator

Blog NEDO-NSTDA 3rd Webinar | “CCUS Technology (Part 2) : A Way to Carbon Neutrality of Thailand” – Challenge of Thailand and Japan – วิดีโอคลิปย้อนหลังงานสัมมนาออนไลน์

24.03.2023

seminar
NEDO-NSTDA 3rd Webinar | “CCUS Technology (Part 2) : A Way to Carbon Neutrality of Thailand” – Challenge of Thailand and Japan – วิดีโอคลิปย้อนหลังงานสัมมนาออนไลน์のメイン画像

องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (NEDO) ประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงานสัมมนาออนไลน์ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “CCUS Technology: A Way to Carbon Neutrality of Thailand (Part 2)” – Challenge of Thailand and Japan – ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อยอดจากการลงนามบันทึกความเข้าใจในเดือนสิงหาคมปี 2021 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอนโยบายและความร่วมมือในสาขาที่เกี่ยวข้องของทั้งไทย-ญี่ปุ่น ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี การริเริ่มโครงการใหม่ร่วมกันระหว่างไทย-ญี่ปุ่น และการค้นหาเมล็ดพันธุ์นวัตกรรมใหม่ๆ

งานสัมมนาออนไลน์ครั้งที่ 3 นี้ ผู้จัดงานมุ่งเน้นไปที่การแนะนำเทคโนโลยี Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS) และกิจกรรมในด้านนี้ของทั้งไทยและญี่ปุ่นเพื่อนำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี 2022 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศยุทธศาสตร์ Green Transformation (GX) เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างอุตสาหกรรมและสังคมซึ่งปัจจุบันให้น้ำหนักอยู่ที่การใช้พลังงานฟอสซิลไปเป็นการใช้พลังงานสะอาด โดยมุ่งหวังเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนให้สำเร็จภายในปี 2050 รวมถึงการสร้างนวัตกรรมและอุตสาหกรรมรูปแบบใหม่ๆ นอกจากนี้ในความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ได้มีการจัดตั้งกรอบความร่วมมือที่เรียกว่า Asia Zero Emissions Community (AZEC) เพื่อแบ่งปันความคิด วิสัยทัศน์เพื่อส่งเสริมการลดคาร์บอน (decarbonization) ในประเทศในเอเชียและร่วมมือกันผลักดันการเปลี่ยนแปลงพลังงานไปข้างหน้า

แนวความคิดดังกล่าวนั้นสอดคล้องกับนโยบาย BCG Economy Model ของประเทศไทยที่ได้รับการเสนอให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยนโยบาย BCG มีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง โดยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการพัฒนาข้อได้เปรียบทางด้านการลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การผลักดันการใช้ Bio Refinery เพื่อเพิ่มมูลค่าของความหลากหลายทางชีวภาพ และผลิตผลทางการเกษตรของไทย การป้องกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อตอบสนองของวาระของโลก

อีกทั้งประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ภายในปี 2065 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแผนนโยบายพลังงานและผลักดันนโยบายเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว เทคโนโลยี CCUS เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย ซึ่งในการประชุม Thailand-Japan Energy Policy Dialogue เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา และในบันทึกความร่วมมือหุ้นส่วนทางพลังงานที่ลงนามเมื่อเดือนมกราคมปี 2022 ก็ได้ให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีนี้เป็นอย่างมาก

ในงานสัมมนาครั้งนี้ มีผู้ประกอบการและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจากทั้งไทยและญี่ปุ่นให้เกียรติมาบรรยายในหัวข้อต่างๆ อาทิ ศักยภาพการพัฒนาเทคโนโลยี CCUS ในประเทศไทย และเทคโนโลยีล่าสุด เป็นต้น


รายละเอียดงานสัมมนา

“CCUS Technology: A Way to Carbon Neutrality of Thailand (Part 2)” – Challenge of Thailand and Japan –
“เทคโนโลยี CCUS : หนทางสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย (Part 2)” – ความท้าทายของไทยและญี่ปุ่น –

วันและเวลา: วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2023/2566 เวลาไทย 14.00-17.30 น. (เวลาญี่ปุ่น 16.00-19.30 น.)
ภาษาที่ใช้: ญี่ปุ่น-ไทย (ล่ามแปลพร้อม)
ผู้จัดงาน: องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (NEDO), สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
หน่วยงานสนับสนุน: Ministry of Economy, Trade and Industry, Japan (METI), กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.), สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (Embassy of Japan in Thailand)


วิดีโอคลิปย้อนหลังงานสัมมนาออนไลน์

คำเตือน : วิดีโอคลิปนี้ ห้ามทำซ้ำ แจกจ่าย ให้เช่าฯลฯ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของลิขสิทธิ์

กล่าวเปิดงาน
ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์

ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

บรรยายหัวข้อที่ 1 การบรรยายพิเศษเกี่ยวกับการประชุมระดับรัฐมนตรี AZEC Asia Zero Emission Community (AZEC)
Mr. KOBAYASHI Izuru

Deputy Commissioner for International Affairs
Agency for Natural Resources and Energy
Ministry of Economy, Trade and Industry (METI)

Download Agenda 1 Presentation (PDF file)

บรรยายหัวข้อที่ 2 Thailand’s CCUS Policy and Development
ดร. อภิรดี สุวรรณทอง

Senior Geologist
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน

Download Agenda 2 Presentation (PDF file)

บรรยายหัวข้อที่ 3 A Survey on Opportunities of Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS) in Thailand’s Oil & Gas, Energy and Chemical Industry
รศ. ดร.จินตวัฒน์ ไชยชนะวงศ์

หัวหน้าห้องวิจัยกระบวนการวัสดุขั้นสูง คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

ผศ. ดร.พรชัย นิเวศน์รังสรรค์
ประธานหลักสูตรวิศวกรรมยานยนต์
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น

รศ. ดร.ณัฐพล ลิ้มจีระจรัส
รองศาสตราจารย์ (วิศวกรรมเครื่องกล)
ฝ่ายวิจัย คณะทันตแพทยศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Download Agenda 3 Presentation (PDF file)

บรรยายหัวข้อที่ 4 NEDO’s Activities on Carbon Recycling
Dr. YOSHIDA Junichi

Director
Environment Department
NEDO Japan

Download Agenda 4 Presentation (PDF file)

บรรยายหัวข้อที่ 5 Cultivating Algae’s Potential, For a Better Future
Mr. KIMURA Amane
Chief Executive Officer
Algal Bio Co., Ltd.

Download Agenda 5 Presentation (PDF file)

บรรยายหัวข้อที่ 6 Introduction to Chiyoda’s Carbon Recycling Activities
Ms. TAKAGAWA Haruna
Business Innovation department
Carbon Management Business Section, Group Leader
Chiyoda Corporation

Chiyoda’s Activities in Thailand
Ms. UEDA Ayaka

GX Business Development Department
Regional Business Development Representative – PT.
Chiyoda International Indonesia
Chiyoda Corporation

Download Agenda 6 Presentation (PDF file)

บรรยายหัวข้อที่ 7 IHI Solutions to achieve Carbon Neutrality (Carbon Recycling)
Dr.Eng SUDA Toshiyuki
Program Director, Corporate Strategy HeadquartersI
IHI Corporation

Download Agenda 7 Presentation (PDF file)

กล่าวปิดงาน
Mr.KAWAMURA Hironori
Chief Representative | NEDO Bangkok

mediatorの画像
ผู้เขียน mediator

Related Blog บทความที่เกี่ยวข้อง

mediator newsletter

‘จดหมายข่าว’ กดสมัครรับข่าวสารเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ การลงทุนและธุรกิจของนักลงทุนญี่ปุ่นจากพวกเราก่อนใคร