Tokyo-Thailand the Business Connecting 2022 “ร่วมรับฟังการอภิปรายประเด็นอุตสาหกรรม BCG และสำรวจโอกาสทางธุรกิจสำหรับบริษัทญี่ปุ่นและไทย” - mediator

Blog Tokyo-Thailand the Business Connecting 2022 “ร่วมรับฟังการอภิปรายประเด็นอุตสาหกรรม BCG และสำรวจโอกาสทางธุรกิจสำหรับบริษัทญี่ปุ่นและไทย”

18.10.2022

event
Tokyo-Thailand the Business Connecting 2022 “ร่วมรับฟังการอภิปรายประเด็นอุตสาหกรรม BCG และสำรวจโอกาสทางธุรกิจสำหรับบริษัทญี่ปุ่นและไทย”のメイン画像

Tokyo-Thailand the Business Connecting 2022
“ร่วมรับฟังการอภิปรายประเด็นอุตสาหกรรม BCG และสำรวจโอกาสทางธุรกิจสำหรับบริษัทญี่ปุ่นและไทย”

Tokyo SME Support Center ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดงาน Tokyo-Thailand the Business Connecting 2022 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและเพิ่มโอกาสทางธุรกิจระหว่างบริษัทญี่ปุ่นและไทย ซึ่งครั้งนี้จะถือเป็นการจัดงานแบบ Onsite ครั้งแรกในรอบ 3 ปีหลังวิกฤติ Covid-19
ภายในงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนแรกเป็นการบรรยายพิเศษจากผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรมอภิปรายประเด็นนโยบายเศรษฐกิจของ BCG ที่หยิบยกมาจากนโยบายสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน BCG ของรัฐบาลไทยและการร่วมเสวนาหารือในหัวข้อ “สิทธิประโยชน์และโอกาสทางธุรกิจของอุตสาหกรรม BCG สำหรับบริษัทญี่ปุ่นและไทย”
ส่วนที่ 2 เป็นการแนะนำเทคโนโลยีและสินค้านวัตกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรม BCG โดยบริษัทญี่ปุ่น ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้บรรบายและผู้เข้าร่วมงานได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน และส่วนที่ 3 เป็นการร่วมรับประทานอาหารและแลกเปลี่ยนนามบัตรตามอัธยาศัย
ในการนี้ ขอเรียนเชิญท่านผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงานดังกล่าว ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกท่านได้พบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจ เพื่อขยายและต่อยอดธุรกิจของท่านต่อไป

รายละเอียดงามสัมมนา

วันและเวลา: วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 – 19.00น.
สถานที่จัด: ณ โรงแรม CARLTON สุขุมวิท
แผนที่: shorturl.at/cez24
จำนวนเปิดรับ: 250 คน
ภาษาที่ใช้: ภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น (มีล่ามแปลภาษา)
ค่าใช้จ่าย: ไม่มีค่าใช้จ่าย

กำหนดการ

13.30 น.                                 
เปิดลงทะเบียน
14.00 – 14.10 น.                     
กล่าวเปิดงาน โดย ผู้จัดงาน
14.10 – 14.15 น.                   
กล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ์ โดย ผู้บริหารจากกระทรวงอุตสาหกรรม
14.30 – 15.00 น.                     
ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ นโยบายและบทบาทหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมในการสนับสนุนกลุ่มเป้าหมายในอุตสาหกรรม BCG (รวมถึงอุตสาหกรรมกัญชง) โดยผู้บริหารจากกระทรวงอุตสาหกรรม (30 นาที)
คุณวรวรรณ ชิตอรุณ
รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

15.00 – 16.00 น.
เสวนาร่วม “สิทธิประโยชน์และโอกาสทางธุรกิจในอุตสาหกรรมBCG สำหรับบริษัทญี่ปุ่น-ไทย” (60-70 นาที)

ผู้ร่วมเสวนา:  

บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จํากัด คุณทาคุมิ คาซาริโมโตะ
รองประธานจากบริษัท
มิตรผลกรุ๊ป
คุณประวิทย์ ประกฤตศรี
ที่ปรึกษากลุ่มมิตรผล

สำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
คุณสุทธิเกตติ์ ทัดพิทักษ์กุล
ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการลงทุน 1
คณะทำงานย่อย Sustainability ด้านเศรษฐกิจชีวภาพ
คุณฮิเดโตชิ อูเมกิ
ที่ปรึกษา

ผู้ดำเนินรายการ:
นายกันตธร วรรณวสุ กรรมการผู้จัดการบริษัท เมดิเอเตอร์ จำกัด

16.00 – 16.20 น. 
พักรับประทานอาหารว่าง 20 นาที
16.20 – 17.20 น.
ช่วงแนะนำเทคโนโลยีและสินค้านวัตกรรมกลุ่มอุตสาหกรรม BCG และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างบริษัทญี่ปุ่น – ไทย (60 นาที)

M.SOFT (Thailand) Co., Ltd.
ผู้ผลิต: เทคโนโลยีรักษาอุณหภูมิและตรวจสอบ Traceability โดยใช้แท็กอิเล็กทรอนิกส์และซอฟต์แวร์ในการจัดส่งสินค้าแช่เย็น
จุดแข็ง: ด้วยกล่องบรรจุสินค้าแบบหุ้มฉนวนพิเศษ สามารถเก็บสินค้าให้เย็นได้นานถึง 5 วัน ช่วยลดต้นทุน ไม่ใช้ไฟฟ้า ข้อมูลอุณหภูมิและตำแหน่งของสินค้าสามารถติดตามด้วยแท็กอิเล็กทรอนิกส์และตรวจสอบแบบเรียลไทม์บนระบบคลาวด์
กลุ่มเป้าหมาย: กลุ่มโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมยา ผู้ประกอบการที่ต้องใช้ระบบขนส่งเก็บความเย็น ฯลฯ
Shizen International (Thailand) Co., Ltd.
ผู้ผลิต: ระบบพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาด้วย Model ธุรกิจ Solar-Corporate PPA (Power Purchase Agreement)
จุดแข็ง: ด้วยโมเดลธุรกิจ PPA การสำรวจพื้นที่งาน ดูแลการติดตั้ง รวมถึงการ Maintenance รับผิดชอบค่าใช้จ่ายโดย Shizen และทำให้ลดภาระในด้านเงินลงทุนเริ่มต้นได้สูง
กลุ่มเป้าหมาย:โรงงานที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายด้วยระบบพลังงานแสงอาทิตย์
Innophys Co., Ltd.
ผู้ผลิต: Muscle Suit Every
จุดแข็ง: ชุด Muscle Suit มีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่น และโครงสร้างเรียบง่าย มีน้ำหนักเพียง 3.8กิโลกรัม ช่วยรองรับการยกหรือขนย้ายของหนักได้เบาขึ้น 25 กิโลกรัม โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ช่วยลดภาระหลังส่วนล่างในระหว่างการทำงานระหว่างการทำงาน
กลุ่มเป้าหมาย: กลุ่มผู้ผลิตที่มีการยกหรือขนย้ายของหนัก เช่น กลุ่ม Hospitality/ Nursing Care สำหรับการยก โยกย้ายหรืออุ้มผู้สูงอายุหรือผู้ทำกายภาพบำบัด กลุ่มLogistic และกลุ่มสินค้าเกษตร ฯลฯ
  TBM Co., Ltd.
ผู้ผลิต: วัตถุดิบ LIMEX Pellet
จุดแข็ง:  วัสดุที่ผลิตจากแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นหลักและผสมเรซินบางส่วน ใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทดแทนพลาสติกหลากหลายประเภท นอกจากจะช่วยลดพลาสติกและต้นทุนการผลิต ลดการใช้น้ำมันและปล่อย CO2 ยังสามารถย่อยสลายได้
กลุ่มเป้าหมาย: ผู้ผลิตขึ้นรูปพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ เช่น บรรจุภัณฑ์อาหาร ถุงช้อปปิ้ง ถุงขยะ เป็นต้น
DENBA Co., Ltd Distributor:Multiply By Eight
ผู้ผลิต: เครื่องรักษาความสดของวัตถุดิบอาหารด้วยระบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
จุดแข็ง: (1) สามารถดัดแปลงใช้กับตู้เย็นและโกดังเชิงพาณิชย์ได้ (2) สามารถดัดแปลงติดตั้งกับหม้อทอดสำหรับอาหารทอด (3) ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อปีต่ำ
กลุ่มเป้าหมาย: เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่ต้องเก็บรักษาความสดของวัตถุดิบอาหาร ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาวัตถุดิบ เช่น กลุ่มธุรกิจร้านอาหาร โรงแรม ผู้นำเข้าผักผลไม้ ผู้ค้าปลีก ฯลฯ ในประเทศไทย และกลุ่มอุตสาหกรรมเสริมความงาม

17.30 – 19.00 น.
ช่วงที่ 3 งานเลี้ยงรับประทานอาหารและแลกเปลี่ยนนามบัตรตามอัธยาศัย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

Tokyo SME Support Center
Email: Thai-branch@tokyo-kosha.or.jp
Tel: +66-2-611-2641

จัดโดย:Tokyo SME Support Center
ร่วมจัดโดย: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม    
สนับสนุนโดย: หอการค้าไทย l สมาคมส่งเสริมการรับช่วงการผลิตไทย lTokyo Metropolitan Industrial Technology Research Institute l สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย l หอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ l JETRO Bangkok 

mediatorの画像
ผู้เขียน mediator

Related Blog บทความที่เกี่ยวข้อง

mediator newsletter

‘จดหมายข่าว’ กดสมัครรับข่าวสารเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ การลงทุนและธุรกิจของนักลงทุนญี่ปุ่นจากพวกเราก่อนใคร