[June 24] สัมภาษณ์ Unicorn Startup ไบโอเทคญี่ปุ่น “Spiber” สร้างนวัตกรรมปฏิวัติอุตสาหกรรมเส้นใย | Open Innovation Talk EP.001 - mediator

Blog [June 24] สัมภาษณ์ Unicorn Startup ไบโอเทคญี่ปุ่น “Spiber” สร้างนวัตกรรมปฏิวัติอุตสาหกรรมเส้นใย | Open Innovation Talk EP.001

10.06.2021

TJRI
[June 24] สัมภาษณ์ Unicorn Startup ไบโอเทคญี่ปุ่น “Spiber” สร้างนวัตกรรมปฏิวัติอุตสาหกรรมเส้นใย | Open Innovation Talk EP.001のメイン画像

สัมภาษณ์ผู้บริหาร “Spiber” บริษัท Startup ด้านเทคโนโลยีชีวภาพจากญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จในการค้นพบเทคโนโลยีในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์จากโปรตีน เจาะลึกต้นกำเนิดที่มาของเทคโนโลยี สกัดสูตรความสำเร็จในการเริ่มต้นธุรกิจด้วยการ “ลงลึก รู้จริง” แบบฉบับญี่ปุ่น

กันตธร วรรณวสุ TJRI (Thai – Japanese Investment Research Institute) จะพาทุกท่านไปพบกับผู้บริหารบริษัท Spiber (Thailand) Ltd. บริษัท Startup สัญชาติญี่ปุ่นที่กำลัง “มาแรง” กับเรื่องราวการประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์และผลิตเส้นใยจากโปรตีนแบบ Mass Production และการมาลงทุนตั้งโรงงานในประเทศไทยในปี 2021

Spiber มีจุดเริ่มต้นจากผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของญี่ปุ่น หลังจากประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์เส้นใยแมงมุม “QMONOS” และการผลิตแบบ Mass Production ในปี 2007 ได้รับการแนะนำให้รู้จักกับบริษัท Kojima ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 1st Tier ให้กับ Toyota และได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัทลงทุน Xpiber ต่อมาในปี 2015 ได้ร่วมงานกับบริษัท GOLDWIN INC. กับแบรนด์ THE NORTH FACE ชื่อดังเสื้อผ้าระดับโลก และได้รับเงินลงทุนกว่า 3,000 ล้านเยน จนกระทั้งเริ่มได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐญี่ปุ่น ตั้งแต่โครงการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมจากกระทรวง METI (Ministry of Economy, Trade and Industry) โครงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ImPACT ของสำนักงานคณะรัฐมนตรี (Cabinet Office) และโครงการ J-Startup จากกระทรวง METI (Ministry of Economy, Trade and Industry) อีกครั้งในเดือน มิ.ย. 2018 เรียกได้ว่าเป็นบริษัท Startup ที่ได้รับความสนใจ และเป็นตัวแทนความหวังของวงการ Startup จากญี่ปุ่น

ในการสัมภาษณ์ “Open Innovation Talk” ครั้งนี้ เราจะเจาะลึกต้นกำเนิดที่มาของเทคโนโลยีในการผลิตเส้นใยสังเคราะห์จากโปรตีน และความสามารถในการ “ลงลึก รู้จริง” แบบฉบับญี่ปุ่น

| Seminar Details

Open Innovation Talk EP.001 | Spiber (Thailand) Ltd.
วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน 2021 10:30 – 12:00

ผู้ดำเนินรายการ : กันตธร วรรณวสุ|CEO mediator co., ltd.
การเข้าร่วม : สัมภาษณ์สดผ่านระบบสัมมนาออนไลน์ ZOOM Webinar
ภาษา : ภาษาไทย-ญี่ปุ่น (แปลสลับ)
ค่าใช้จ่าย : ไม่มีค่าใช้จ่าย
ผู้จัด : Thai – Japanese Investment Research Institute (TJRI)

Guest Speaker

Mr. Keisuke Morita
Director, Spiber (Thailand) Ltd. [WEB]
เกิดปี 1988 ที่เมืองโอซากา จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคโอ เข้าร่วมบริษัท Spiber มี.ค. 2012 ผ่านประสบการณ์การทำงานด้าน R&D / Intellectual property ดำรงตำแหน่งปัจจุบันตั้งแต่ มิ.ย. 2019

Agenda

1. แนะนำ TJRI
2. แนะนำ Press Release ความเคลื่อนไหวด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่น
3. Open Innovation Talk สัมภาษณ์ผู้บริหารญี่ปุ่น
– เคล็ดลับเทคโนโลยีของ Spiber และความสำเร็จในการสังเคราะห์เส้นใยโปรตีนและการผลิตแบบ Mass Production
– จากจุดเริ่มต้นแค่การส่องเห็นเส้นใยเล็กๆ ผ่านเลนส์กล้องจุลทรรศน์ในห้อง Lab ของมหาวิทยาลัยในปี 2007 จนมาถึงการตั้งโรงงานที่ประเทศไทยในปี 2021
– อนาคตและบทบาทในการร่วมสร้างสังคมที่ยั่งยืนของ Spiber จากนี้ 1ปี 5ปี 10ปี ข้างหน้า
4. Q&A


What is “Open Innovation Talk” ?
ปัจจัยสำคัญในการเลือกไทยเป็นฐานการลงทุนของนักลงทุนญี่ปุ่นในประเทศไทยที่ผ่านมาหลายทศวรรษนั้น เกือบทั้งหมดเกิดจากการที่นักลงทุนญี่ปุ่นคำนึงจากสาธารณูปโภคพื้นฐาน ค่าแรงงาน สิทธิประโยชน์ทางภาษี หรือการที่มีบริษัทลูกค้าที่เป็นบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นเหมือนกันมาลงทุนอยู่ก่อนแล้วในไทย โดยมองประเทศไทยเป็นเพียงฐานการผลิตสินค้า ไม่ได้มีการดำเนินกิจกรรมธุรกิจใดที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการไทยตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาทั้งที่ตั้งอยู่ในประเทศเดียวกัน จึงทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศอื่น เพราะไม่ได้มีธุรกิจที่เชื่อมโยงต่อเนื่องภายในประเทศไทย

โครงการ TJRI และกิจกรรม “Open Innovation Talk” จึงถูกริเริ่ม เพื่อเป็นตัวกลางในการติดต่อประสานงาน สร้างให้เกิดกรอบความร่วมมือความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่ ที่ไม่จำกัดเฉพาะการใช้ไทยเป็นฐานการผลิตสินค้า แต่เป็นการร่วมคิดร่วมสร้างโดยใช้จุดแข็งของทั้งสองประเทศ เพื่อนำไปสู่การสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดสากลของทั้งสองประเทศต่อไป

Kantatornの画像
ผู้เขียน Kantatorn

Related Blog บทความที่เกี่ยวข้อง

mediator newsletter

‘จดหมายข่าว’ กดสมัครรับข่าวสารเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ การลงทุนและธุรกิจของนักลงทุนญี่ปุ่นจากพวกเราก่อนใคร